การจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสียจากอาคาร ซึ่งทางกรุงเทพมหานคร คาดว่าจะเริ่มเก็บในช่วงปลายปีนี้ โดยเฉพาะ อาคารประเภท โรงแรม โรงงาน ต้องจ่าย ในอัตรา 8 บาทต่อลูกบากศ์เมตรนายปรินทร์ พัฒนธรรม ผู้จัดการโรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล แบงค็อก สุขุมวิท ซึ่งโรงแรมแห่งนี้ อยู่ระหว่างการก่อสร้าง เตรียมเปิดให้บริการช่วงปลายปีนี้
นายปรินทร์ พาทีมข่าวไปสำรวจบ่อบำบัดน้ำเสียของโรงแรม ซึ่งอยู่ใต้ดิน มีความลึก 4 เมตร สร้างเตรียมเอาไว้รับน้ำเสียจากห้องพักกว่า 241 ห้อง
และรับน้ำเสียจากส่วนอื่นๆของอาคารได้ถึง 500 ลูกบาศก์เมตร ต่อวัน ซึ่งโรงแรมส่วนใหญ่ จะมีการสร้างบ่อบำบัดน้ำเสียอยู่แล้ว ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร และต้องบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
“แกร็บ” จ่อปลดพนักงาน 1,000 คน ครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่โควิด-19 ระบาด
รู้จัก Digital Nomad นักท่องเที่ยวกลุ่มใหม่ โอกาสไทยเปิดประตูต้อนรับ
คุณปรินทร์ บอกว่า การที่ กทม. มีแนวคิดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย นำน้ำเสียจากอาคารเข้าสู่ระบบบำบัดของ กทม. มองว่า เป็นเรื่องดี จะทำให้เป็นระบบมากขึ้น แต่กังวลว่าจะเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายให้กับโรงแรมหรือไม่ เพราะโรงแรมได้ลงทุนก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียไปแล้ว รวมถึงน้ำที่ปล่อยออกมา ยังถือว่าเป็นน้ำเสียที่ต้องเข้าสู่ระบบบำบัดของกทม.อีกหรือไม่ เพราะถ้าหากโรงแรมถูกจัดเก็บค่าบำบัดน้ำเสียอีก นั่นเท่ากับว่าเป็นต้นทุนที่ผู้ประกอบการต้องแบกภาระเพิ่ม
คุณปรินทร์ ระบุว่า ระบบบำบัดน้ำเสียของโรงแรม จะมีค่าใช้จ่ายเป็นค่าไฟฟ้า 60,000 – 80,000 บาทต่อเดือน ยังไม่ร่วมค่ากำจัดของเสีย และ ค่าบำรุงรักษาระบบ และหากต้องจ่ายค่าบำบัดน้ำเสียให้ กทม.ด้วย ในอัตรา 8 บาท ต่อลูกบาศก์เมตร จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 48,000 บาทต่อเดือน
ส่วนที่ กทม. คาดว่า จะเริ่มเก็บค่าบำบัดน้ำเสีย ช่วงปลายปี 2566 มองว่า เร็วเกินไป ควรให้เวลาผู้ประกอบการได้เตรียมตัว เพราะหลายรายพึ่งจะฟื้นตัวจากโควิด-19 นักท่องเที่ยวต่างชาติยังไม่กลับมาร้อยเปอร์เซนต์ แถมยังเจอกับค่าไฟฟ้าแพง พร้อมฝากถึงหน่วนงานที่เกี่ยวข้อง ขอความชัดเจนว่า หลังจากเก็บค่าบำบัดน้ำเสีย และส่งน้ำเสียเข้าสู่ระบบบำบัดของ กทม.แล้ว การก่อสร้างอาคารในอนาคต ยังจำเป็นต้องมีระบบบำบัดน้ำเสียหรือไม่ หากไม่ต้องมีระบบบำบัดน้ำเสียก็จะทำให้ต้นทุนลดลง แต่หากยังต้องมีค่าใช้จ่ายทั้ง 2 ทาง ก็จะกลายเป็นค่าใช้จ่ายที่ซ้ำซ้อนคำพูดจาก สล็อตเว็บตรงฝาก
สำหรับอัตราค่าบำบัดน้ำเสีย ที่ กทม. คาดว่าจะเริ่มเก็บช่วงปลายปีนี้ แบ่งเป็น อาคาร ประเภทที่ 2 คือ สำนักงานหน่วยงานของรัฐ เอกชน องค์กร และสถานประกอบการที่ใช้น้ำไม่เกิน 2,000 ลูกบาศก์เมตร คิดอัตราค่าธรรมเนียม 4 บาทต่อลูกบาศก์เมตรต่อเดือน // ประเภทที่ 3 โรงแรม โรงงาน สถานประกอบการที่ใช้น้ำเกิน 2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อเดือน คิดอัตราค่าธรรมเนียม 8 บาทต่อลูกบาศก์เมตร /// ส่วนครัวเรือน ยังจะไม่ถูกจัดเก็บ